การให้การสงเคราะห์

สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสกลนคร มีภารกิจให้การสงเคราะห์ แก่
          1.  ทหารผ่านศึกนอกประจำการ
          2.  ครอบครัวทหารผ่านศึก
          3.  ทหารนอกประจำการ
          4.  ทหารผ่านศึกประจำการ 

มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 จังหวัด  (37 อำเภอ) จำนวนทหารผ่านศึกและครอบครัว  ประมาณ  29,217 ราย

    การสงเคราะห์ด้านการสวัสดิการ การศึกษา และการรักษาพยาบาล 
1. การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกนอกประจำการ ขณะกระทำหน้าที่ในการสงคราม หรือในการรบ ฯ หรือในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง ฯ  ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดและครอบครัว
   1.1 กรณีประสบภัยพิบัติ
         1.1.1  ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ
                  - ได้รับความเสียหายบางส่วน จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง  แต่ไม่เกิน 5,000.- บาท
                  - ได้รับความเสียหายทั้งหลัง  จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง  แต่ไม่เกิน 10,000.- บาท
          1.1.2  พืชผลทางการเกษตร  สัตว์เลี้ยง อาคารสถานที่ หรือเครื่องมือสำหรับการประกอบอาชีพ ตามที่ อผศ. กำหนด 
ประสบภัยพิบัติจะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่ เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 2,000.- บาท
         การขอรับการสงเคราะห์ทั้ง  2 กรณี  ต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลา 120 วัน นับแต่วันที่ประสบภัยพิบัติ
หลักฐาน
       - คำสั่งปฏิบัติหน้าที่และบัตรประจำตัวข้าราชการ
       - สำเนาทะเบียนบ้าน (ระบุชื่อเป็นเจ้าบ้าน)
       - หนังสือรับรองความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ระบุความเสียหาย เป็นจำนวนเงินแต่ละรายการ
       - ภาพถ่ายความเสียหายของบ้าน หรือพืชผลทางการเกษตร ฯ ที่เสียหาย
       - โฉนดที่ดิน  หรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน กรณีพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
       - ทะเบียนสมรส (กรณีคู่สมรสเป็นเจ้าบ้าน  หรือประกอบอาชีพทางการเกษตร)
       - หลักฐานอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล
       1.2 กรณีได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
            จ่ายเงินเยี่ยมเยียนช่วยเหลือทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ ฯ ที่เข้าพักรักษาตัว
ในโรงพยาบาล  คนละ  1,000.- บาท
       1.3  กรณีคลอดบุตร  ทหารผ่านศึกหญิงหรือภรรยาของทหารผ่านศึกที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ฯ จะได้รับการสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร  คราวละ  2,000.- บาท  โดยต้องยื่นคำร้องภายในระยะเวลา 6 เดือน  นับแต่วันคลอด
หลักฐาน
        -  บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน  (ผู้ปฏิบัติหน้าที่)
        -  ใบสำคัญการสมรส
        -  สำเนาสูติบัตร   (พร้อมฉบับจริง)
        -  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับการสงเคราะห์,  คู่สมรส และบุตร
        -  หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
        -  คำสั่งปฏิบัติหน้าที่
        -  อื่น ๆ เช่นการเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล
        1.4  กรณีการศึกษาของบุตร
              ให้การสงเคราะห์ค่าบำรุงการศึกษา  และค่าธรรมเนียมการศึกษา  ในหลักสูตรไม่สูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือเทียบเท่า  แก่บุตรของทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ ฯ อายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ในกรณีทางราชการไม่ช่วยเหลือตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดนับแต่ภาคการศึกษาที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่จนถึงภาคการศึกษาที่มีคำสั่งให้พ้นหน้าที่
หลักฐาน
         -  คำสั่งปฏิบัติหน้าที่
         -  สำเนาทะเบียนของทหารผ่านศึก, ภรรยา และบุตร
         -  สำเนาทะเบียนสมรส
         -  หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาตามแบบ  กสก.2
         -  ใบเสร็จค่าเล่าเรียนฉบับจริง
         -  คำร้องขอความช่วยเหลือ ตามแบบ  อผศ.2
         1.5  กรณีการรักษาพยาบาล
               ทหารผ่านศึกที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ฯ และครอบครัว ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของทางราชการอื่น ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน จะได้รับการสงเคราะห์ ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะผู้ที่ไม่มีสิทธิเบิกจากต้นสังกัด โดยให้เบิกได้ตามหลักเกณฑ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล
               การขอรับการสงเคราะห์ผู้มีสิทธิขอรับการสงเคราะห์ยื่นคำร้องตามแบบที่ องค์การ ฯ กำหนด ภายใน  1 ปี  นับแต่วันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน หรือนับจากวันสุดท้ายที่ออกจากโรงพยาบาลที่ทำการรักษา สำหรับครอบครัวให้ขยายระยะเวลาต่อไปอีก  6 เดือน นับแต่วันที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ฯ กลับเข้าที่ตั้ง  
หลักฐาน
         - ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล หรือสลิป พร้อม ใบสรุปค่ารักษาพยาบาล
         - หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน กรณีเบิกให้ครอบครัว (สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาใบสำคัญการสมรส, สำเนาสูติบัตร)
         - คำสั่้งปฏิบัติหน้าที่ ฯ
         - หนังสือรับรองไม่มีสิทธิเบิกจากต้นสังกัด
         - คำร้องขอความช่วยเหลือ ตามแบบ อผศ.2
       
1.6 กรณีถึงแก่ความตาย 
              จะจ่ายเพียงครั้งเดียวแก่ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือใน การรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามจราจล  ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด  และครอบครัว ให้ได้รับการสงเคราะห์ คนละ 10,000.- บาท
             การสงเคราะห์ประเภทนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันถึงแก่ความตาย หรือวันที่ทายาทหรือผู้จัดการศพ 
ทราบการถึงแก่ความตาย
หลักฐาน 
         - สำเนามรณบัตร  พร้อมฉบับจริง
         - สำเนาใบสำคัญการสมรส  หรือทะเบียนสมรส กรณีภรรยาหรือสามี เป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์
         - หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ  (กสก.1)  กรณีบุคคลอื่นที่มิใช่ภรรยา หรือสามี ยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์
         - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย  ประทับ   " ตาย " 
         - สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับเงิน
         - สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ ฯ
         - สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ 
         - คำร้องขอความช่วยเหลือ  ตามแบบ  อผศ.2
        1.7 กรณีบำเพ็ญกุศลทางศาสนา 

             สงเคราะห์ร่วมบำเพ็ญกุศลทางศาสนาแก่ทหารผ่านศึกที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ ฯ  คราวละไม่เกิน 15,000.- บาท
2. การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตรและผู้ถือบัตรประจำครอบครัว ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) จะได้รับการสงเคราะห์  ดังนี้
        2.1 กรณีประสบภัยพิบัติ
               2.1.1  ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ
                        - ได้รับความเสียหายบางส่วน จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน  5,000.- บาท
                        - ได้รับความเสียหายทั้งหลัง  จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน  10,000.- บาท
               2.1.2  พืชผลทางการเกษตร  สัตว์เลี้ยง อาคารสถานที่ หรือเครื่องมือสำหรับการประกอบอาชีพ ตามที่ อผศ. กำหนด ประสบภัยพิบัติจะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริงแต่ไม่เกิน  2,000.- บาท
               การขอรับการสงเคราะห์ทั้ง  2  กรณี ต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลา 120 วัน นับแต่วันที่ประสบภัยพิบัติ
หลักฐาน
         - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ
         - สำเนาทะเบียนบ้าน (ระบุชื่อเป็นเจ้าบ้าน)
         - หนังสือรับรองความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ระบุความเสียหาย เป็นจำนวนเงินแต่ละรายการ
         - ภาพถ่ายความเสียหายของบ้าน หรือพืชผลทางการเกษตร ฯ ที่เสียหาย
         - โฉนดที่ดิน  หรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน กรณีพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
         - ทะเบียนสมรส (กรณีคู่สมรสเป็นเจ้าบ้าน  หรือประกอบอาชีพทางการเกษตร)
         - หลักฐานอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล   
         2.2 กรณีพิการทุพพลภาพหรือพิการ หรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ในการสงคราม หรือใน
การรบ  หรือในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง  หรือจากเหตุอื่น  ให้การสงเคราะห์ดังนี้
               2.2.1  สงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพรายเดือนแก่ทหารผ่านศึกฯ บัตรชั้นที่ 1 ที่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพรายเดือน เดือนละ 5,570.- บาท ที่ไม่ได้รับบำนาญ ให้การสงเคราะห์เงินเลี่ยงชีพรายเดือน  ให้การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพรายเดือน เดือนละ 7,750.- บาท และที่ไม่ได้รับบำนาญพิเศษแต่ได้รับบำนาญปกติและเงิน ช.ค.บ. รวมกันไม่ถึงเดือนละ 7,750.- บาท ให้การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพรายเดือนจนครบเดือนละ 7,750.- บาท
               2.2.2 สงเคราะห์เงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือนแก่ทหารผ่านศึก ฯ บัตรชั้นที่ 1 ที่ประพฤติตนเหมาะสมกับเกียรติของทหารผ่านศึก  และไม่กระทำการใด ๆ ให้เป็นที่เสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของทหารผ่านศึก หรือ อผศ. ให้ได้รับการสงเคราะห์เงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือน เดือนละ  4,000.- บาท
               2.2.3 สงเคราะห์เงินช่วยเหลือเป็นค่าครองชีพพิเศษแก่ทหารผ่านศึก ฯ
บัตรชั้นที่ 1 ที่พิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพซึ่งได้รับ เงิน  บ.ท.ช. ให้ได้รับการสงเคราะห์เงินช่วยเหลือเป็นค่าครองชีพพิเศษ  เดือนละ  1,000.- บาท    
               2.2.4 สงเคราะห์เงินช่วยเหลือแก่ทายาทของทหารผ่านศึกฯ บัตรชั้นที่ 1 ที่ได้รับเงินเลี้ยงชีพรายเดือนจาก อผศ. 
เมื่อถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทกรณีได้รับบำนาญพิเศษ  จำนวน  150,000.- บาท  และกรณีไม่ได้รับบำนาญพิเศษ  จำนวน 182,700.- บาท
               2.2.5  สงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพพิเศษแก่ทหารผ่านศึก ฯ บัตรชั้นที่ 1 ที่ได้รับเงินเลี้ยงชีพรายเดือนตาม ข้อ 2.2.1  มีสิทธิขอรับเงินเลี้ยงชีพพิเศษจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนเงินช่วยเหลือแก่ ทายาท  ในข้อ 2.2.4
               2.2.6  สงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือนแก่ทหารผ่านศึก  บัตรชั้นที่ 2, 3 และ 4 ที่พิการจากการปฏิบัติหน้าที่  หรือพิการทุพพลภาพ หรือพิการจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพจากเหตุอื่น และอัตคัดขัดสน ขาดผู้อุปการะ  จะได้รับการสงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือน เดือนละไม่เกิน  3,000.- บาท 
               2.2.7 สงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือนแก่ผู้ได้รับบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก  บัตรชั้นที่ 1  ครอบครัวละเดือนละ  3,500.- บาท  แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตามที่ อผศ. เห็นสมควร
         2.3 กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเข็ม หรือเหรียญที่แสดงถึงความกล้าหาญ  ทหารผ่านศึก ฯ 
บัตรชั้นที่่ 1  ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีด้วยความกล้า หาญ  เหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญหรือเหรียญกล้าหาญ  ให้ได้รับเงินเชิดชูเกียรติ  เดือนละ  5,000. บาท
         2.4 กรณีถึงแก่ความตาย
               สงเคราะห์เพียงครั้งเดียว  แก่ทายาทของทหารผ่านศึกนอกประจำการ ทุกชั้นบัตร และผู้ได้รับบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก ฯ บัตรชั้นที่ 1  ศพละ 10,000.- บาท
               การสงเคราะห์ประเภทนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันถึงแกความตาย หรือวันที่ทายาทหรือผู้จัดการศพทราบ 
การถึงแก่ความตาย
หลักฐาน 
         - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ กรณีบัตรสูญหายให้ใช้ใบแจ้งความแทน
         - สำเนามรณบัตร  พร้อมฉบับจริง
         - สำเนาใบสำคัญการสมรส  หรือทะเบียนสมรส กรณีภรรยาหรือสามี เป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์
         - หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ  (กสก.1)  กรณีบุคคลอื่นที่มิใช่ภรรยาหรือสามี ยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์
         - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย  ประทับ   " ตาย " 
         - สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับเงิน
         - คำร้องขอความช่วยเหลือ  ตามแบบ  อผศ.2
         2.5 กรณีการเยี่ยมเยี่ยน
               อผศ. จะจ่ายเงินเยี่ยมเยียน  ช่วยเหลือทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก  หรือทหารนอกประจำการ

เป็นครั้งคราว  ตามที่  อผศ. เห็นสมควร ในวงเงินคนละไม่เกิน  500.- บาท  และอาจจัดสิ่งของเยี่ยมเยียนตามความเหมาะสม
         2.6 กรณีการสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล
               อผศ. ได้ให้การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ทหารผ่านศึกและครอบครัว  ตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึก 
ว่าด้วยการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ พ.ศ.2522  และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
               2.6.1 การให้บริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก
                       2.6.1.1 ประเภทผู้ป่วยนอก ผู้มีสิทธิขอรับการสงเคราะห์ต้องเขียนคำร้องตามแบบที่กำหนดและจะได้รับการสงเคราะห์ตามปีงบประมาณ  ดังนี้คือ
                                   2.6.1.1.1 ทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1 บัตรชั้นที่่ 2  บัตรชั้นที่ 3 บัตรชั้นที่ 4 และครอบครัว  ครอบครัวละปีละไม่เกิน  3,000.- บาท
                                   2.6.1.1.2 ครอบครัวทหารผ่านศึกถือบัตรชั้นที่ 1 คนละปีละไม่เกิน  3,000.- บาท
                        2.6.1.2 ประเภทผู้ป่วยใน  ทหารผ่านศึก และครอบครัว เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ประเภทผู้ป่วยใน จะได้รับการสงเคราะห์ ดังนี้
                                   2.6.1.2.1 ผู้ป่วยห้องสามัญ ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจราจล  ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด และครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตรและครอบครัวทหารผ่านศึก ถือบัตรชั้นที่ 1 จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า และจัดอาหารเลี้ยงในอัตราคนละวันละ  ตามที่  ผอ.อผศ. กำหนด
                                   2.6.1.2.2 ผู้ป่วยห้องพิเศษ  จะได้รับการรักษาพยาบาลตามระเบียบที่ อผศ. กำหนดโดยมีส่วนลดค่าห้องพัก ดังต่อไปนี้
                                               - ทหารผ่านศึกที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ฯ และครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ 
ถือบัตรชั้นที่ 1  และครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 จะได้รับส่วนลดร้อยละ  50
                                               - ทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่่ 2 และครอบครัว จะได้รับส่วนลด ร้อยละ  40
                                               - ทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 3 และบัตรชั้นที่่่ 4 และครอบครัว 

จะได้รับส่วนลด ร้อยละ  30 
                   2.6.2 การสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลเป็นตัวเงิน
                            2.6.2.1 ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตรและครอบครัว  ที่เจ็บป่วยไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล  หรือสถานพยาบาลของ อผศ. ไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลได้  ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการอื่น หรือสถานพยาบาลของเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงสารธารณสุขให้จัดตั้ง และมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนให้นำใบเสร็จรับเงิน ค่ารักษาพยาบาลมาขอเบิกเงินคืนจาก  อผศ.ได้ภายในวงเงินที่กำหนด ตามข้อ 2.6.1.1
หลักฐาน
         -  ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
         -  สำเนาทะเบี่ยนบ้านท่ี่เกี่ยวข้อง  (กรณีเบิกของครอบครัว)
         -  สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองบุตรที่เกี่ยวข้อง  (กรณีเบิกของครอบครัว) 
            การขอรับการสงเคราะห์ผู้มีสิทธิขอรับการสงเคราะห์ยื่นคำร้องตามแบบที่องค์การ ฯ กำหนด ภายใน  1 ปี  

นับแต่วันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน  หรือนับจากวันสุดท้ายที่ออกจากโรงพยาบาลที่ทำการรักษา   
หากพ้นกำหนดถือว่าหมดสิทธิ
          2.7 เงินช่วยเหลือครั้งคราว  
                อผศ. ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก 
บัตรชั้นที่ 1 (เว้นบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) ที่ยากจนขัดสนซึ่งมีเหตุจำเป็น  และมีความเดือดร้อนเฉพาะหน้า คนละไม่เกิน 500.- บาทต่อปี
                ผู้มีสิทธิที่จะขอรับการสงเคราะห์   ต้องเขียนคำร้องตามแบบ  อผศ.1  ซึ่ง อผศ. จะให้การสงเคราะห์ในกรณีจำเป็นและเดือนร้อนเฉพาะหน้า  ดังนี้
                1. เจ็บป่วยจนเป็นเหตุให้ต้องหยุดประกอบอาชีพเกิน  15  วันขึ้นไป  โดยที่นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ให้การสงเคราะห์ไปเยี่ยมถึงที่พักอาศัย  พบว่าป่วยจริงหรือมีใบรับรองแพทย์มาแสดงก็ให้การสงเคราะห์ได้
                2. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุหรือมีเหตุเดือดร้อนเฉพาะหน้าจนไม่สามารถประกอบอาชีพ ตามปกติได้ โดยที่นักสังคมสงเคราะห์พิจารณาเห็นสมควร
                3. เดือดร้อนเกี่ยวกับค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือาย้ายไปประกอบอาชีพยังสถานที่แห่งอื่น
          2.8  กรณีการช่วยเหลือด้านการศึกษา
                 2.8.1   สงเคราะห์การศึกษาระดับปริญญาจนจบระดับปริญญาตรีในประเทศ ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก
นอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1 การสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน  ค่าธรรมเนียม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น